เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมการขนส่งทางราง (ขร.) ครบรอบ 3 ปี ว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ขร.ได้ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และเสนอแผนการพัฒนาด้านการขนส่งทางรางของประเทศ ที่ทำให้ระบบขนส่งทางรางของไทยก้าวหน้า การพัฒนา และกำกับดูแลให้ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล รวมถึงดำเนินการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมระดับประเทศ และภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ขอให้ ขร. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน บูรณาการการทำงานโดยประสานความร่วมมือในการพัฒนาการขนส่งทางรางตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง และทำให้ผู้คนเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ร่วมกันทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับประชาชนสืบต่อไป
ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดี ขร. กล่าวว่า ขร. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบขนส่งทางรางมาแล้วกว่า 3 ปี แม้ปัจจุบันจะมีบุคลากร 90 คน ซึ่งเป็นจำนวนน้อย แต่เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และเป็นแรงขับเคลื่อนให้ ขรคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด. ไปสู่องค์กรกำกับดูแลระบบการขนส่งทางราง ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ขร. ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะพัฒนาระบบการขนส่งทางรางให้เป็นระบบหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และการพัฒนารถไฟความเร็วสูง รวมถึงจัดทำโครงการศึกษา เพื่อเปิดเส้นทางโครงข่ายระบบรางใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงข่ายระบบรางระหว่างจังหวัด, โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเท
และรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ R-map, โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจําลอง การคาดการณ์ ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP2) เพื่อพัฒนาให้ระบบขนส่งทางรางสามารถครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ และสะดวกทุกการใช้งานต่อประชาชน ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการจัดทำมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ทั้งด้านความปลอดภัย และบริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในการใช้บริการ
นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ขร. ได้จัดทำมาตรฐานต่างๆ ไปแล้วหลายมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งภายใต้พระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. …. ที่ทาง ขร. เร่งผลักดันอยู่ขณะนี้ นอกจากการจัดทำมาตรฐานระบบขนส่งทางรางแล้วนั้น อีกหนึ่งภารกิจหลักของ ขร. คือ การกำกับติดตามการดำเนินงานด้านระบบขนส่งทางราง เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่ง ทางรางมีประสิทธิภาพเทียบเท่าระดับสากล เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย และเป็นการสร้างความสุข และความปลอดภัยในการเดินทางระบบรางของไทยอย่างยั่งยืน.