เมื่อพูดถึงวิกฤตภาวะโลกร้อน เรื่องของ “น้ำแข็งละลาย” ถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะเป็นผลลัพธ์ที่สังเกตการณ์ได้ชัดเจน โดยเฉพาะน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกและกรีนแลนด์
ทั้งนี้ น้ำแข็งที่ละลายนั้นหลัก ๆ เกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือมหาสมุทรที่สูงขึ้นเพราะโลกร้อน แต่ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (UCI) และห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซา (NASA) ได้ค้นพบอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วกว่าที่ประเมินไว้
ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาธารน้ำแข็งปีเตอร์มันน์ (Petermann Glacier) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรีนแลนด์ และพบว่า น้ำแข็งและมหาสมุทรมี “ปฏิสัมพันธ์” บางอย่างที่ช่วยเร่งการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลด้วย
สภาพอากาศโลกเสี่ยงรุนแรงขึ้น หลังอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรสูงทุบสถิติ
น้ำแข็งขั้วโลกละลาย อาจทำให้ระบบการหวุนเวียนของกระแสน้ำลึกพังทลาย
นักวิทย์ฯ เผย อุณหภูมิกรีนแลนด์ร้อนสุดในรอบ 1,000 ปี
นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลเรดาร์ดาวเทียมในยุโรปเพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของแผ่นน้ำแข็งและข้อมูลระดับความสูงของพื้นผิว เพื่อประเมินการเคลื่อนตัวของ “Grounding Line” หรือบริเวณที่น้ำแข็งแยกตัวออกจากพื้นแผ่นดินและเริ่มลอยอยู่ในมหาสมุทร และศึกษาอัตราการละลายของธารน้ำแข็งตั้งแต่ปี 1992
พวกเขาพบว่า แนว Grounding Line ของธารน้ำแข็งปีเตอร์มันน์ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างวัฏจักรน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้น้ำทะเลที่อุ่นเพราะโลกร้อนสามารถรุกล้ำและละลายน้ำแข็งในอัตราเร่ง
เอนริโก ซีราซี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ระบบโลกจาก UCI และหัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “Grounding Line ของปีเตอร์มันน์ควรเรียกว่าเป็น Grounding Zone เพราะมันเคลื่อนตัวระหว่าง 2-6 กิโลเมตรเมื่อเผชิญกระแสน้ำเข้าและออก”
เขากล่าวว่า ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับ Grounding Line คือ พวกมันไม่ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรของน้ำขึ้นน้ำลง และไม่ได้เกิดการละลายของน้ำแข็งในบริเวณนี้ แต่การศึกษาใหม่ทำให้ได้ทราบแล้วว่า น้ำทะเลอุ่นได้รุกล้ำพื้นที่ใต้น้ำแข็งผ่านช่องใต้ธารน้ำแข็งที่มีอยู่ก่อน โดยอัตราการละลายสูงสุดเกิดขึ้นที่ Grounding Line โดยประมาณการว่าน้ำแข็งจุดนี้ละลายไปประมาณ 60–100 เมตรต่อปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นักวิจัยพบว่า ขณะที่ Grounding Line ของธารน้ำแข็งปีเตอร์มันน์ถอยห่างออกไปเกือบ 4 กิโลเมตรระหว่างปี 2016-2022 น้ำอุ่นได้ทำให้เกิดโพรงสูง 200 เมตรที่ด้านล่างของธารน้ำแข็ง
เอริก ริกน็อต ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระบบโลกของ UCI และนักวิทยาศาสตร์ของ NASA JPL หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ปฏิกิริยาระหว่างน้ำแข็งกับมหาสมุทรเหล่านี้ทำให้ธารน้ำแข็งมีความไวต่อภาวะโลกร้อนมากขึ้น”
เขาเสริมว่า “ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ไม่เคยถูกรวมอยู่ในแบบจำลองการคาดการณ์ผลกระทบโลกร้อน และถ้าเราจะรวมมันด้วย มันจะเพิ่มตัวเลขการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นได้ถึง 200% ไม่ใช่แค่สำหรับปีเตอร์มันน์เท่านั้น แต่สำหรับธารน้ำแข็งทั้งหมดในมหาสมุทร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของกรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกาทั้งหมดด้วย”
ปรากฏการณ์นี้อาจเลวร้ายลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากอุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้เพิ่งมีรายงานว่าอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นการพุ่งสูงขึ้นที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตื่นตระหนก
เรียบเรียงจาก ABC News / CNN / Science Daily
ภาพจาก AFP